Thursday, March 21, 2019

ผิวดีเพราะ 5 เรียนรู้ เข้าใจผิว เข้าใจผลิตภัณฑ์ เข้าใจเวลา เข้าใจร่างกาย เข้าใจสภาพแวดล้อม | EP 1 S-ERUM ครีมพอก กับ ครีมเคาเตอร์แบรนด์ ?


EP 1 (แปลว่ามีอีกหลายตอน)

S-ERUM เวชสำอางค์ที่มีอายุยาวนานกว่า 21 ปี หาซื้อยาก และ ใช้ยากด้วย 😅 เพราะ S-ERUM มีการปรุงตำรับสูตร โดยวางอยู่บนพื้นฐานว่า ผู้ใช้มีความเข้าใจที่ดีมากพอ

เอาหละ , วันนี้ผมจะมาสะสาง ความไม่เข้าใจหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับ S-ERUM ครีมน้ำนมพอกหน้า ที่ผู้ใช้ มีเสียงตอบรับกลับมา หลากหลาย

เช่น


  • ใช้ดีนะ แต่พอใช้ไปเข้าเดือนที่ 3 ทำไมเฉย ๆ
  • ตอนแรกก็ใช้ดีนะ แต่สักพักเหมือนหน้าจะหมองลง
  • ใช้แล้ว .. ไม่เห็นได้ผลอะไรเลย
  • ใช้ดี ใช้มาเป็น 10 ปี ก็ดีเริดทุกครั้งนะ 
  • หยุดใช้ไปนานหลายปี กลับมาใช้อีกที อุ้ย มันดีงามเหมือนเดิม

เออ ดูสิ ผลิตภัณฑ์เดียวกัน แต่ผลลัพธ์แต่ละคนออกมาไม่เหมือนกัน
😂




แล้วเสียงตอบรับจากคนที่ยังไม่เคยใช้เลย ก็มีนะ ส่งมาในไลน์บ้าง แฟนเพจบ้าง รวมถึง ไปโพสต์ถามกันในกระทู้เว็บบอร์ดบ้าง

เช่น


  • ใส่ปรอทใช่ไหมอะพี่ ทำไมมันจะขาวใสในคืนเดียว
  • ครีมอะไรอะ ยี่ห้อก็ไม่เคยได้ยิน ได้เห็น ไม่มีโฆษณา
  • ทำไมแพงเวอร์วัง จะได้ผลเหรอ
  • หลอกขาย ครีมกวนถัง ใช้แล้วหน้าพัง

ผู้เขียนก็เป็นงง .. แกไม่เคยใช้ แกรู้ไปถึงตอนจบได้ไงเนี่ย
😆



ความจริงของโลกใบนี้ คือ มันมีครีมดีดีอยู่เยอะแยะหละครับ มีเป็นหมื่น ๆ แบรนด์เลยหละ บอกเลย ขอให้ผลิตถูกต้อง ไม่หมดอายุ มันดีหมดหละครับ

บางตำรับมีส่วนผสมหลัก ๆ แค่เบสโลชัน + ลาโนลิน + น้ำมันงา + กลีเซอรลีน + สารกันเสีย ไม่ใส่น้ำหอม

หืม .. ต้นทุนไม่กี่ร้อย แต่ขายกันหลักพัน และผิวก็ดีขึ้นจริงด้วยนะ ที่มันแพง ก็เพราะ "ตำรับเด็ด" ในการจับหาสัดส่วนเฉพาะมาปรุงนั่นหละครับ



แต่กระนั้น ,

ถ้าสังเกตจะพบว่า "เคาเตอร์แบรนด์ดัง" ที่คนไทยยอมรับว่า มันเชื่อถือได้ เพราะมีการลงทุนเปิดเคาเตอร์ , มีโฆษณา , มี BA แนะนำ มี มี มี บลา ๆ ๆ ๆ

แพงแค่ไหน ก็ซื้อได้ เพราะ .. มันเชื่อได้ ก็เขามีโฆษณาไง เออ ก็จริงเนาะ

แต่ขนาดแพงแบบนั้น น่าเชื่อถือแบบนั้น ก็ยังมีเสียงตอบรับมาเยอะว่า


  • ใช้ดีนะ แต่พอใช้ไปเรื่อย ๆ ทำไมผิวเฉย ๆ
  • ตอนแรกก็ใช้ดีนะ แต่สักพักผิวมันเยิ้มเลยค่ะ
  • ใช้แล้ว .. ไม่เห็นได้ผลอะไรเลย
  • สิวระเบิดเลยค๊า แพ้ด้วยคัน แสบไปหมด

น่าคิดไหมหละ ?

ถ้าน่าคิด เดี๋ยวเรามาติดตามกันตอนหน้า EP 2 เนาะ เพราะเรารู้ว่า เวลามีค่า อ่านยาว ๆ มันเสียเวลา
😝 ผู้เขียนก็เหนื่อย .. ฮ่า ๆ 

แล้วเจอกันตอนหน้าครับ ไปโบกครีมพอก แล้วนอนดู Marvel พรุ่งนี้จะได้เอาผิวสวย ๆ ไปอวดชาวแม่ค้าในตลาดสด

บัยยยยย นะจ๊ะ



 ไม่ต้องซื้อก็ได้ .. แค่เข้าใจเราก็พอ


Monday, March 18, 2019

วิชาการเรียนรู้เรื่องกระฝ้า ตอนที่ 3 : ต้องทายารักษาฝ้า กระ ไปตลอดชีวิตหรือไม่ ?

ตอนที่แล้วเราทำความเข้าใจกันแล้วว่า ยารักษาฝ้ามีกี่ประเภท และ แต่ละสารมีผลดีและผลข้างเคียงอย่างไร

ฝ้า กระ ต้องทา ต้องพอก ดูแลผิวกันสม่ำเสมอไปตลอดชีวิตครับ



ตอนที่ 3 ผมจะชวนมาทำความเข้าใจว่า ต้องทายารักษาฝ้าไปตลอดชีวิตหรือไม่ ? ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจคลาดเคลื่อน

อ่านตอนที่ 1
วิชาการเรียนรู้เรื่องกระฝ้า ตอนที่ 1 : ทบทวนข้อเท็จจริงพื้นฐานเกี่ยวกับกระฝ้า

อ่านตอนที่ 2
วิชาการเรียนรู้เรื่องกระฝ้า ตอนที่ 2 : เข้าใจยารักษาฝ้า


เราจะต้องทายารักษาฝ้าไปตลอดชีวิตเลยเหรอ ?

ไม่จำเป็นต้องทายารักษาฝ้าไปตลอดชีวิตครับ แต่จำเป็นต้องทาเครื่องสำอางค์ที่มีสารควบคุมกลไกการเกิดฝ้าไปตลอดชีวิต (ท่องไว้ครับ ยา และ เครื่องสำอางค์ ไม่เหมือนกัน)


ทำไม ?
ยังต้องทาเครื่องสำอางค์ที่มีสารควบคุมกลไกการเกิดฝ้าต่อไปหละ ?

ก็ฝ้าเป็นแล้วไม่หายไงครับ !!

เมื่อชัดเจนว่าไม่หาย ก็แปลว่า เขายังดำรงอยู่กับเรา แต่ที่ดูว่าจางหายไปนั้น เพราะเขาโดนควบคุมกลไกการกระจายตัว โดยสารต่าง ๆ ที่เราทาลงไป (รวมถึงวิธีการหัตการในคลีนิคผิวหนัง)

เปรียบเสมือน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง กินยา รับคีโม ต่อเนื่องแล้วก็อาจหายขาดไปได้ แต่ถ้าเผลอใช้ชีวิตเหมือนเดิม ก็สามารถกลับมาเป็นเบาหวาน เป็นมะเร็งได้ และ อาจเป็นหนักกว่าเดิมด้วย

ฝ้าก็เช่นเดียวกันครับ !!

รักษาด้วยยาหายแล้ว แต่ไม่ทาเครื่องสำอางค์ที่มีสารควบคุมเขา แล้วยังกลับไปเริงร่าท้าแดด ส่องจอมือถือใกล้ ๆ หน้า

กลไกฝ้าจะกลับมาทำงาน และ แพร่กระจายตัว (มีพื้นที่กว้างขึ้น) และ มีจำนวนมากขึ้น (สีเข้มขึ้น)


เดี๋ยว ๆ !!
เครื่องสำอางค์ที่มีสารรักษาฝ้า จะทำให้ผิวบางไหม หน้าจะแพ้ง่ายไหม ?

ก็ขึ้นกับผู้ผลิตหละครับทีนี้ว่าจะใช้สารอะไรมาใส่ และ ใส่ความเข้มข้นขนาดไหน และ "จะปรุงตำรับใด" ออกมา

สารตัวเดียวกัน แต่คนละแบรนด์ กลับให้ผลไม่เท่ากัน ก็เพราะ "ตำรับการปรุง" ในห้องแลปส์นี่แหละครับ

อาหารก็เช่นกัน !! วัตถุดิบเดียวกัน แต่เชฟต่างกัน ก็มี "ปลายจวัก" (รสมือ) ต่างกันนะครับ

ดังนั้น ผู้บริโภคต้องพยายามมีความรู้ให้มาก  ๆ เข้าไว้ครับ



จะหลอกขายของให้ซื้อใช้ไปตลอดหละสิ !!

ไม่ได้หลอกครับ เพราะคนเราต้องกินข้าวทุกวัน วันละ 3 มื้อ น้ำอีก 8-10 แก้วทุกวัน ลองไม่กินข้าว กินน้ำ สัก 3-5 วันดูครับ ดูซูบ โทรม หมอง แห้ง เหี่ยว ใช่ไหมครับ

ผิวก็เช่นกัน เพราะผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายเรา ต้องการสารอาหารในการสร้างชั้นผิวหนังใหม่ทุกวันนะครับ

โชคดีที่ผิวหนังเป็นอวัยวะที่สามารถดูดซึมอาหารผิวจากภายนอกได้

การทาครีมจึงได้ผลกับผิวชั้นนอกได้เป็นอย่างดีครับ จึงเป็นการให้อาหารผิว เหมือนที่เราต้องกินข้าวทุกวันนั่นแหละครับ


อาหารมีหลายแบบ จานเดียว ฟาสฟูดส์ ชีวจิต อาหารผิวก็เหมือนกันนะครับ


อาหารจานเดียว
กระชวกซีอิ้ว น้ำปลา ผงปรุงรส ใส่
ก็กินได้อร่อย แต่ไตพัง สังขารร่วง

ฟาสต์ฟูดส์
แป้งแปรรูป ไขมันทรานส์ สารแต่งกลิ่น
ก็กินได้สะดวกดี อ้วนพลี มีพุง

ชีวจิต
อาหารคุณภาพชั้นดี กินเพื่อสุขภาพ ..
แต่กินยาก ไม่อร่อยลิ้น


แล้วมันเกี่ยวกันยังไง !!

ผมอยากให้เลือก "อาหารคุณภาพ" อาหารที่กินแล้วดีกับร่างกายแบบอาหารชีวจิต อาหารคลีนแบบนั้น ให้กับผิวเราบ้างครับ

ลงทุนให้ร่างกายได้ ก็ลงทุนให้ผิวด้วยครับ

ไม่ใช่เอะอะ ก็อาหารจานเดียว อาหารจานด่วน เพราะเครื่องสำอางค์จำนวนมาก สวยเร็วเร่งได้ แบบอาหารจานเดียว อาหารจานด่วน นั่นหละครับ

แพคเกจสวย ซีรีย์เยอะ สาขาแยะ ทำง่าย และอาจตายง่ายด้วย สารจากสารพัดสัตว์ จากแร่ธาตุ สุดแท้แต่จะสรรหาจาก สูงสุดบนท้องฟ้า (โอโซน) งมลงมาหาจนถึงท้องทะเลลึก (ปลาดาว ปลาวาฬ ขี้ปลาไหล)

นี่ถ้าแหวกไปทำการตลาดลงไปใจกลางโลกได้ ต่อไปเราคงเห็น สารสกัดจากแมกม่า แกนกลางแม่เหล็กโลก ผสมขายในเครื่องสำอางค์ได้แน่ ๆ

คือ ท่าไม่ยาก ทาไม่เยอะ ขวดเดียว เสียวครบทุกจักรวาล อาจหน้าพัง เซลล์ผิวหนังร่วงราและอ่อนแอได้ เมื่อใช้นาน ๆ


ดังนั้น เลือกลงทุนอาหารผิว ที่เป็นอาหารผิวจริง ๆ ไม่ใช่อาหารแค่อิ่มท้องเถอะนะครับ







S-ERUM ผลิตภัณฑ์เซรัมคุณภาพสูงจำหน่ายมานานกว่า 20 ปี


S-ERUM CAE เซรัมอาหารผิว
 คือ เวชสำอางค์สูตรเอกสิทธิ์จากสหรัฐอเมริกา 
ที่ใช้สารทดแทนไฮโดรควิโนนหลากหลายชนิด ร่วมกับ สารสำคัญจากรากดอกไม้ซิโฟเนียสายพันธุ์เยอรมัน (กลุ่มพืชพุ่มเตี้ย) และ น้ำมันกีวีสกัดเข้มข้น (เพื่อใช้ละลายอนุพันธ์ของสารสำคัญ)

โดยพุ่งเป้าไปที่การใช้สารสกัดธรรมชาติจำนวนมากที่เข้มข้นในระดับพอดีในรูปเซรัมแบบครีม เพื่อลดกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว อย่างปลอดภัย

เมื่อใช้ CAE ครีมรากไม้อย่างถูกต้อง ในปริมาณที่เหมาะสม และ ต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ จะพบความแตกต่างของสีผิวระหว่าง "ก่อนใช้ " และ "หลังใช้" ได้ชัดเจนครับ

ทำความรู้จักผลิตภัณฑ์นี้เพิ่มเติม
https://www.serumchiangmai.com/s-erum-super-whitening-performance-cae.php


แฟนเพจทางการ (Official)
facebook.com/serumchiangmai



Line id : serumchaingmai (สำหรับโทรไลน์เพื่อปรึกษาผิวพรรณ)


Line id : @naitam (สั่งซื้อและรับโปรโมชัน)


โทร. 02-1073396 และ 052-081830




Sunday, December 2, 2018

วิชาการเรียนรู้เรื่องกระฝ้า ตอนที่ 2 : เข้าใจยารักษากระฝ้า

ตอนที่แล้วเราทำความเข้าใจกันแล้วว่า กระฝ้ายังไม่มีวิธีใด ๆ และ สารใดบนโลกที่จะทำให้หายขาดได้ และ มีสารไฮโดรควิโนนที่ทรงพลังที่สุดในการรักษากระฝ้า แต่ก็มาพร้อมกับอันตราย


ตอนที่ 2 ผมจะพามาลงลึกถึงยารักษาฝ้าที่ใช้กันในไทยว่า มีตัวหลัก ๆ อะไรบ้าง ๆ แต่ละตัวมีการทำปฏิกิริยาอย่างไรกับฝ้า และ มีผลกระทบอะไรภายหลังการใช้บ้าง

อ่านตอนที่ 1
วิชาการเรียนรู้เรื่องกระฝ้า ตอนที่ 1 : ทบทวนข้อเท็จจริงพื้นฐานเกี่ยวกับกระฝ้า


ยารักษาฝ้า (Melasma Medications)

หมายถึง กลุ่มยาที่ใช้กดกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง


ยารักษาฝ้าที่นิยมใช้ในประเทศไทยแบ่งตามประเภทของสารได้ดังนี้

  1. สารกลุ่มอะโรมาติกอินทรีย์ (Aromatic organic compound)
    สารกลุ่มนี้ คือ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone หรือเรียกย่อว่า HQ) เป็นสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการถ่ายภาพของฟิล์มขาว-ดำ สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์กดกระบวนการสร้างเม็ดสีโดยตรงได้ และทำให้ฝ้า - กระ มีสีเข้มลดลง
  2. สารกลุ่มอนุพันธ์กรดวิตามินเอ (เรตินอยด์ -Topical retinoids)
    สารกลุ่มนี้ คือ เตรทติโนอิน (Tretinoin) ช่วยเร่งการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังชั้นบน จึงช่วยให้รอยฝ้าดูจางลง
  3. สารกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
    สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์กดกระบวนการสร้างเม็ดสีโดยตรงได้ และทำให้ฝ้า - กระ มีสีเข้มลดลง เหมือนกลุ่มอะโรมาติกอินทรีย์ เช่น

    - เดกซาเมธาโซน (Dexamethasone)
    - ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone)
    - โมเมนทาโซน (Mometasone)
    - ฟลูโอซิโนโลน (Fluocinolone)
    - ฟลูติคาโซน (Fluticasone)
    - เบทาเมธาโซน (Betamethasone)
    - คลอเบทาซอล (Clobetasol)
  4. กรดอะเซเลอิค (Azelaic acid)
  5. สารสูตรผสม (Triple combination)
    ประกอบด้วยสาร 3 ชนิดรวมกัน ได้แก่
    1. กลุ่มอะโรมาติกอินทรีย์ คือ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone)
    2. กลุ่มกรดอนุพันธ์วิตามินเอ คือ เตรทติโนอิน (Tretinoin)
    3. กลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ คือ ฟลูโอซิโนโลน (Fluocinolone)

    ยาสูตรนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาในการรักษา และลดโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากสาร
  6. สารรักษาเสริม (Adjunctive therapies)
    เป็นกลุ่มที่นำมาผสมในเครื่องสำอางค์ได้ มีความปลอดภัยสูงกว่า (แต่ไม่ได้หมายถึง จะไม่พบอาการแพ้จากการใช้) มีข้อระมัดระวังในการใช้น้อยกว่า

    เช่น

    - กรดทรานเนซามิก (Tranexamic acid) * ตัวนี้ยังไม่มีข้อบ่งใช้ชัดเจนว่ารักษาฝ้าได้ และ ยังไม่มีรายงานเรื่องความปลอดภัยในการใช้ด้วย *
    - กรดแอสคอร์บิก หรือ วิตามินซี (Ascorbic acid)
    - กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid)
    - กรดโคจิก (Kojic acid)
    - ไนอาซินาไมด์หรือวิตามินบี 3 (Niacinamide)
    - สารสกัดจากชะเอมเทศ (Licorice extract)

ยาข้างต้นสามารถหาซื้อเองได้ใช่ไหม ?

ใช่ครับ แต่ไม่ทุกตัวนะ และ บางตัวจะต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น


ดีจัง งั้นไปหาซื้อมาใช้เลยนะ ฝ้าจะได้หายเลย

เดี๋ยวก่อนครับ อย่าเพิ่งไป :) เพราะที่ผมเล่ามาตั้งแต่ต้น 5 กลุ่มแรก มัน คือ ยา และ ยามีข้อบ่งใช้ มีผลข้างเคียง มีข้อห้าม มีระยะเวลา มีปริมาณการใช้ และ แต่ละคนตอบสนองต่อยาแต่ละตัวไม่เหมือนกัน และ ยาตัวเดียวกัน แต่ละคนก็ตอบสนองได้ไม่เท่ากัน (รวมถึงอาการแพ้ยาด้วยนะ .. จ๊ะ)

หากปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่ง ควบคุมผิดพลาดไปนิดเดียว จากการไปซื้อมาใช้เอง หรือ เชื่อคนขายตาม facebook หรือ เพราะเห็นแก่ของถูก เพราะยาบางตัวหลอดละ 100 บาทเอง

จากจะสวย .. จะกลายเป็น ซวย ได้นะครับ เออ


อะ .. มาดูผลเสียของยาแต่ละกลุ่ม


  1. Hydroquinone 
    ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง แสบร้อน บวม แดง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำขึ้น และ จบไม่สวยตรงที่ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย (Ochronosis) นะเออ เรียกว่า ดี .. แต่เดทตอนจบ

    ในยุโรปบางประเทศ ประกาศห้ามใช้มานานแล้ว เนื่องจากเป็นสารอันตรายเหลือเกิน
  2. Tretinoin 
    ทำให้ระคายเคือง เจ็บบริเวณผิวหนัง ผิวหนังแดง คัน ผื่นผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ แห้ง ลอก แสบร้อน ผิวมีสีเข้มขึ้น หรือ ซีดลงเป็นด่างขาว .. เออ ซะงั้นอะ

    บางสูตรเป็นยาที่สลายตัวได้เมื่อถูกแสงแดด ดังนั้นต้องทายานี้ก่อนนอน แต่ผิวจะไวต่อแสงแดด หรือ แสงไฟจากหลอดยูวี ทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น
  3. Corticosteroids
    อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เฉพาะที่ ได้แก่ คัน ติดเชื้อแบคทีเรีย รูขุมขนอักเสบ ฝี สิว ผิวหนังเหี่ยว ผิวหนังไหม้พอง ระคายเคือง ผิวแห้ง ขนขึ้นดก ผิวหนังซีด ผิวหนังรอบปากอักเสบ ผิวหนังอักเสบจากอาการแพ้ ผิวหนังเปื่อย มีการติดเชื้อแทรกซ้อนของร่างกาย ผิวแตกลาย

    เนื่องจากยาดูดซึมได้ทางบาดแผลได้ไวมาก

    อันนี้เรียกว่า มาไม่แรง .. แต่มาครบความระบม
  4. Azelaic acid
    พบอาการไม่พึงประสงค์ได้น้อย และส่วนใหญ่จะพบเมื่อเริ่มใช้ยา ได้แก่ คัน ระคายเคือง แสบร้อนบริเวณผิวหนัง

    อันนี้อ่อน ๆ แต่ทำให้ใจคอไม่ดีได้ ยิ่งเป็นโรควิตกกังวล แทบจะโยนทิ้งตั้งแต่ทาคืนแรก
  5. Triple combination
    อาจทำให้เกิดอาการ แดง คัน ระคายเคือง ผิวแห้ง ลอก ผิวมีสีเข้มขึ้น หรือ ซีดลง สิวโรซาเซีย (Rosacea)
  6. Tranexamic acid
    อาจทำให้เกิด อาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ การมองเห็นผิดปกติ เช่น มองเห็นไม่ชัด มองเห็นสีผิดปกติ ชัก เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดในบริเวณต่างๆของร่างกาย ซึ่งหากอุดตันบริเวณอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง ปอด ไต อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้


สรุป ยารักษาฝ้ามันไม่ดีใช่ไหม ?

ไม่ใช่ครับ ถ้าคุณใช้ยาข้างต้นภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง (ไม่ใช่หมอศัลยแพทย์มาเปิดคลีนิคนอกอะไรพวกนี้นะ)

เพราะแพทย์จะเป็นผู้เลือกประเภทของยา ความเข้มข้น ระยะเวลาการใช้ และ ดูแลอย่างใกล้ชิด (คุณเองก็ต้องไปพบแพทย์ตามนัดด้วย) และ แพทย์จะสามารถเล่นแร่ แปรธาตุกระบวนการรักษา เพื่อไม่ให้ผลข้างเคียงจากยา ย้อนกลับมาทำร้ายคุณได้

แต่นั่นก็ต้องแลกมาด้วยกับต้นทุน คือ เวลาที่ต้องเดินทาง , ข้อห้ามจุกจิก , ค่ายาที่สูง (เพราะรวมค่าบริการทางการแพทย์) และ อย่าลืมว่า "ยังไม่มีวิธีใดทำให้ฝ้าหายขาดนะจ๊ะ"

ตอนต่อไป เราจะมาคุยกันว่า ฝ้าไม่หายขาด .. แล้วจะทำอย่างไร ?


ข้อมูลเรียบเรียงจาก :
เภสัชกรพรลภัส บุญสอน





S-ERUM ผลิตภัณฑ์เซรัมคุณภาพสูงจำหน่ายมานานกว่า 20 ปี


S-ERUM CAE เซรัมอาหารผิว
 คือ เวชสำอางค์สูตรเอกสิทธิ์จากสหรัฐอเมริกา 
ที่ใช้สารทดแทนไฮโดรควิโนนหลากหลายชนิด ร่วมกับ สารสำคัญจากรากดอกไม้ซิโฟเนียสายพันธุ์เยอรมัน (กลุ่มพืชพุ่มเตี้ย) และ น้ำมันกีวีสกัดเข้มข้น (เพื่อใช้ละลายอนุพันธ์ของสารสำคัญ)

โดยพุ่งเป้าไปที่การใช้สารสกัดธรรมชาติจำนวนมากที่เข้มข้นในระดับพอดีในรูปเซรัมแบบครีม เพื่อลดกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว อย่างปลอดภัย

เมื่อใช้ CAE ครีมรากไม้อย่างถูกต้อง ในปริมาณที่เหมาะสม และ ต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ จะพบความแตกต่างของสีผิวระหว่าง "ก่อนใช้ " และ "หลังใช้" ได้ชัดเจนครับ

ทำความรู้จักผลิตภัณฑ์นี้เพิ่มเติม
https://www.serumchiangmai.com/s-erum-super-whitening-performance-cae.php


แฟนเพจทางการ (Official)
facebook.com/serumchiangmai



Line id : serumchaingmai (สำหรับโทรไลน์เพื่อปรึกษาผิวพรรณ)


Line id : @naitam (สั่งซื้อและรับโปรโมชัน)


โทร. 02-1073396 และ 052-081830



วิชาการเรียนรู้เรื่องกระฝ้า ตอนที่ 1 : ทบทวนข้อเท็จจริงพื้นฐานเกี่ยวกับกระฝ้า

กระฝ้าเป็นปัญหาที่ทำให้ผิวหน้าดูไม่สวย และ ทุกคนยอมทุ่มเงินเพื่อหาวิธีรักษา แต่ความรู้ที่ถูกต้อง ทำให้กระฝ้ารักษาได้ผลมากขึ้น ในขณะที่ไม่เสี่ยงอันตรายจะเกิดกระฝ้าถาวรในภายหลัง





"กระ-ฝ้าสามารถรักษาหายขาดได้" ใช่หรือไม่ ?


ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษากระฝ้าให้หายขาดนะครับ
 แต่สามารถลดความเข้มของสีกระ-ฝ้าให้จางลงได้ และถ้าดูแลเขาด้วยสารประกอบที่ถูกกับผิวของเรา (ย้ำว่า ที่ถูกกับผิวของเรานะครับ) ร่วมกับ การป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่จะกระตุ้นกระ-ฝ้าให้กระจายตัว

รับรองได้เลยว่า โอกาสที่ความเข้มของกระ-ฝ้าจะจางลงจนมองไม่เห็น ก็จะมีมากขึ้นครับ


ยาที่รักษากระ-ฝ้าได้ดีที่สุด คือ ไฮโดรควิโนน ใช่หรือไม่ ?


ถูกต้องครับ
 ไฮโดรควิโนน (HQ - Hydroquinone) เป็นสารกลุ่มอะโรมาติกอินทรีย์ ที่ได้ผลในการรักษาผิวที่เป็นกระฝ้าได้ดีที่สุด โดยตัวสารจะเข้าไป "ยับยั้ง" กระบวนการทางเคมีของเซลล์สร้างเม็ดสี เรียกกระบวนการนี้ว่า เมลาโนไซต์ (Melanocyte)

แต่ไฮโดรควิโนนเป็นสารอันตราย และ การใช้ที่ผิดพลาดจะทำให้ชั้นผิวเสียหายในระยะยาว (ย้ำนะครับว่า การใช้ที่ผิดพลาด ไม่ใช่ การใช้เฉย ๆ)

ประเทศไทย อนุญาตให้มีการใช้ไฮโดรควิโนนในรูปแบบยาครีม และ ยาเจล  ความเข้ม 2 และ 4 กรัม ต่อ ปริมาณครีม 100 กรัม (หรือ 2% และ 4%) โดยกำกับสรรพคุณยาเพื่อรักษากระ ฝ้า และ ขี้แมลงวันเท่านั้น

กฏหมายไทย ห้ามผู้ผลิตเครื่องสำอางค์ใส่สารไฮโดรควิโนนลงไป (ยา กับ เครื่องสำอางค์ ไม่เหมือนกัน) แต่อนุญาตให้แพทย์ / เภสัชกรสั่งจ่ายยานี้ได้ และ ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น


ยาไฮโดรควิโนนมีชื่อการค้าอื่นอีกไหม ?


มีครับ ,


ชื่อการค้า Delanin (เดลานิน)
ผู้ผลิต Charoon Bhesaj

ชื่อการค้า MelloDerm-HQ (เมลโลเดอร์ม-เฮชคิว)
ผู้ผลิต Berich

ชื่อการค้า Persatina (เพอร์ซาทินา)
ผู้ผลิต 2M (Med-Maker)

ชื่อการค้า Tri-Luma (ไตร-ลูมา)
ผู้ผลิต Galderma

(ข้อมูล : เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร)

หืม .. งั้นมาใช้ยาไฮโดรวิโนนดีกว่า หาซื้อบนเนตได้ ราคาถู๊ก ถูก


ได้ครับ , แต่ก่อนไปหาซื้อ ผมอยากให้จดจำไว้ 2 ข้อที่ผมแจ้งไว้ข้างต้น

  1. กระ-ฝ้ายังไม่มีกระบวนการทางการแพทย์ / ยา รักษาหายขาดได้ แม้จะใช้ยา / สาร / วิธี รุนแรงแค่ไหน ก็จะกลับมาเป็นซ้ำอีก และ ร่องรอยของมันมักจะมีสีเข้มเรื่อย ๆ หากไม่เข้าใจกระบวนการเกิดกระ-ฝ้านะครับ
  2. สารไฮโดรควิโนน ถูกประกาศให้เป็นสารอันตรายที่ก่อภาวะ "ผิวคล้ำมากขึ้น" บริเวณที่สัมผัสสาร และ รอยคล้ำนี้จะรักษาต่อไม่ได้

โอเค ไฮโรควิโนนน่ากลัว แล้วมีอะไรที่ดีกว่าไฮโดรควิโนนไหม ?


มีแน่นอนครับ
 แต่ผลที่ได้จะอ่อนกว่าไฮโดรควิโนน จึงต้องใช้เวลาที่นานกว่า "ไม่ทันใจ .. แต่ไม่นานเกินไปที่จะทันสวย"

แบบนี้โอเคกว่าไหมครับ :)

ที่สำคัญ สารจำนวนมากที่ใช้ทดแทนไฮโดรควิโนน "ยังมีความปลอดภัยสูง" และ ไม่เสี่ยงต่อภาวะ "ผิวคล้ำถาวร (หรือ ฝ้าถาวร)" อีกด้วย

สารทดแทนไฮโดรควิโนน ที่ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น


  1. อาร์บูติน (Arbutin)
    สารสกัดธรรมชาติจากพืช bearberry (เป็นต้นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง) พบในสูตรยาโบราณของญี่ปุ่นด้วย และ อาร์บูตินชนิดอัลฟา (alpha-arbutin) ออกฤทธิ์ต่อผิวดีกว่า จึงนิยมใช้อาร์บูตินชนิดอัลฟาในครีมทาให้ผิวขาว 
  2. วิตามินซีและอนุพันธ์ 
    มีรายงานยืนยันผลจากการใช้อย่างแพร่หลายในเครื่องสำอางว่า วิตามินซีทำให้ผิวสว่างขึ้นได้  
  3. สารสกัดชะเอม (Licorice extract) 
    ลดการเกิดผิวสีเข้มหลังได้รับรังสียูวีบี และลดอาการผิวไหม้แดง 
  4. สารสกัดจากใบหม่อน
  5. สารสกัดจากว่านหางจระเข้ 
    สาร Aloesin ซึ่งสกัดจากว่านหางจระเข้ สามารถกดการสร้างเม็ดสีได้ 
  6. สารสกัดจากใบโสม (Ginseng) 
    สาร p-coumaric acid สามารถยับยั้งการสร้างเม็ดสีได้
  7. สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Gingko) 
    มีสาร flavone glycosides ที่ส่วนใหญ่ คือ quercetin และ อนุพันธ์ของ kaempferol สารเหล่านี้ยับยั้งการสร้างเม็ดสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ทางเลือกของผู้บริโภคในการใช้สารทดแทนไฮโดรควิโนน คือ การใช้เวชสำอางค์ชั้นสูงที่เชื่อถือได้ และ มีประวัติยาวนานพอให้ผู้บริโภครู้จัก

ตอนต่อไป , ผมจะชวนมาทำความเข้าใจวิธีการรักษากระ-ฝ้าแบบประณีประณอม สิ้นเปลืองงบประมาณน้อยที่สุด และ ใช้เวลาน้อยที่สุด แต่ได้ผลมากที่สุดครับ

อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจเพื่ออัพเดทบทความเพื่อผิวพรรณนะครับ
facebook.com/serumchiangmai


หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามปรึกษาได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ไลน์ไอดี serumchiangmai ครับ


S-ERUM ผลิตภัณฑ์เซรัมคุณภาพสูงจำหน่ายมานานกว่า 20 ปี


S-ERUM CAE เซรัมอาหารผิว
 คือ เวชสำอางค์สูตรเอกสิทธิ์จากสหรัฐอเมริกา 
ที่ใช้สารทดแทนไฮโดรควิโนนหลากหลายชนิด ร่วมกับ สารสำคัญจากรากดอกไม้ซิโฟเนียสายพันธุ์เยอรมัน (กลุ่มพืชพุ่มเตี้ย) และ น้ำมันกีวีสกัดเข้มข้น (เพื่อใช้ละลายอนุพันธ์ของสารสำคัญ)

โดยพุ่งเป้าไปที่การใช้สารสกัดธรรมชาติจำนวนมากที่เข้มข้นในระดับพอดีในรูปเซรัมแบบครีม เพื่อลดกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว อย่างปลอดภัย

เมื่อใช้ CAE ครีมรากไม้อย่างถูกต้อง ในปริมาณที่เหมาะสม และ ต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ จะพบความแตกต่างของสีผิวระหว่าง "ก่อนใช้ " และ "หลังใช้" ได้ชัดเจนครับ

ทำความรู้จักผลิตภัณฑ์นี้เพิ่มเติม
https://www.serumchiangmai.com/s-erum-super-whitening-performance-cae.php


แฟนเพจทางการ (Official)
facebook.com/serumchiangmai



Line id : serumchaingmai (สำหรับโทรไลน์เพื่อปรึกษาผิวพรรณ)


Line id : @naitam (สั่งซื้อและรับโปรโมชัน)


โทร. 02-1073396 และ 052-081830




รูปประกอบ
Photo by Nathan Dumlao on Unsplash