ตอนที่แล้วเราทำความเข้าใจกันแล้วว่า กระฝ้ายังไม่มีวิธีใด ๆ และ สารใดบนโลกที่จะทำให้หายขาดได้ และ มีสารไฮโดรควิโนนที่ทรงพลังที่สุดในการรักษากระฝ้า แต่ก็มาพร้อมกับอันตราย
ตอนที่ 2 ผมจะพามาลงลึกถึงยารักษาฝ้าที่ใช้กันในไทยว่า มีตัวหลัก ๆ อะไรบ้าง ๆ แต่ละตัวมีการทำปฏิกิริยาอย่างไรกับฝ้า และ มีผลกระทบอะไรภายหลังการใช้บ้าง
อ่านตอนที่ 1
วิชาการเรียนรู้เรื่องกระฝ้า ตอนที่ 1 : ทบทวนข้อเท็จจริงพื้นฐานเกี่ยวกับกระฝ้า
ยารักษาฝ้า (Melasma Medications)
หมายถึง กลุ่มยาที่ใช้กดกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนังยารักษาฝ้าที่นิยมใช้ในประเทศไทยแบ่งตามประเภทของสารได้ดังนี้
- สารกลุ่มอะโรมาติกอินทรีย์ (Aromatic organic compound)
สารกลุ่มนี้ คือ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone หรือเรียกย่อว่า HQ) เป็นสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการถ่ายภาพของฟิล์มขาว-ดำ สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์กดกระบวนการสร้างเม็ดสีโดยตรงได้ และทำให้ฝ้า - กระ มีสีเข้มลดลง - สารกลุ่มอนุพันธ์กรดวิตามินเอ (เรตินอยด์ -Topical retinoids)
สารกลุ่มนี้ คือ เตรทติโนอิน (Tretinoin) ช่วยเร่งการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังชั้นบน จึงช่วยให้รอยฝ้าดูจางลง - สารกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์กดกระบวนการสร้างเม็ดสีโดยตรงได้ และทำให้ฝ้า - กระ มีสีเข้มลดลง เหมือนกลุ่มอะโรมาติกอินทรีย์ เช่น
- เดกซาเมธาโซน (Dexamethasone)
- ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone)
- โมเมนทาโซน (Mometasone)
- ฟลูโอซิโนโลน (Fluocinolone)
- ฟลูติคาโซน (Fluticasone)
- เบทาเมธาโซน (Betamethasone)
- คลอเบทาซอล (Clobetasol) - กรดอะเซเลอิค (Azelaic acid)
- สารสูตรผสม (Triple combination)
ประกอบด้วยสาร 3 ชนิดรวมกัน ได้แก่
1. กลุ่มอะโรมาติกอินทรีย์ คือ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone)
2. กลุ่มกรดอนุพันธ์วิตามินเอ คือ เตรทติโนอิน (Tretinoin)
3. กลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ คือ ฟลูโอซิโนโลน (Fluocinolone)
ยาสูตรนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาในการรักษา และลดโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากสาร - สารรักษาเสริม (Adjunctive therapies)
เป็นกลุ่มที่นำมาผสมในเครื่องสำอางค์ได้ มีความปลอดภัยสูงกว่า (แต่ไม่ได้หมายถึง จะไม่พบอาการแพ้จากการใช้) มีข้อระมัดระวังในการใช้น้อยกว่า
เช่น
- กรดทรานเนซามิก (Tranexamic acid) * ตัวนี้ยังไม่มีข้อบ่งใช้ชัดเจนว่ารักษาฝ้าได้ และ ยังไม่มีรายงานเรื่องความปลอดภัยในการใช้ด้วย *
- กรดแอสคอร์บิก หรือ วิตามินซี (Ascorbic acid)
- กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid)
- กรดโคจิก (Kojic acid)
- ไนอาซินาไมด์หรือวิตามินบี 3 (Niacinamide)
- สารสกัดจากชะเอมเทศ (Licorice extract)
ยาข้างต้นสามารถหาซื้อเองได้ใช่ไหม ?
ใช่ครับ แต่ไม่ทุกตัวนะ และ บางตัวจะต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้นดีจัง งั้นไปหาซื้อมาใช้เลยนะ ฝ้าจะได้หายเลย
เดี๋ยวก่อนครับ อย่าเพิ่งไป :) เพราะที่ผมเล่ามาตั้งแต่ต้น 5 กลุ่มแรก มัน คือ ยา และ ยามีข้อบ่งใช้ มีผลข้างเคียง มีข้อห้าม มีระยะเวลา มีปริมาณการใช้ และ แต่ละคนตอบสนองต่อยาแต่ละตัวไม่เหมือนกัน และ ยาตัวเดียวกัน แต่ละคนก็ตอบสนองได้ไม่เท่ากัน (รวมถึงอาการแพ้ยาด้วยนะ .. จ๊ะ)หากปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่ง ควบคุมผิดพลาดไปนิดเดียว จากการไปซื้อมาใช้เอง หรือ เชื่อคนขายตาม facebook หรือ เพราะเห็นแก่ของถูก เพราะยาบางตัวหลอดละ 100 บาทเอง
จากจะสวย .. จะกลายเป็น ซวย ได้นะครับ เออ
อะ .. มาดูผลเสียของยาแต่ละกลุ่ม
- Hydroquinone
ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง แสบร้อน บวม แดง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำขึ้น และ จบไม่สวยตรงที่ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย (Ochronosis) นะเออ เรียกว่า ดี .. แต่เดทตอนจบ
ในยุโรปบางประเทศ ประกาศห้ามใช้มานานแล้ว เนื่องจากเป็นสารอันตรายเหลือเกิน - Tretinoin
ทำให้ระคายเคือง เจ็บบริเวณผิวหนัง ผิวหนังแดง คัน ผื่นผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ แห้ง ลอก แสบร้อน ผิวมีสีเข้มขึ้น หรือ ซีดลงเป็นด่างขาว .. เออ ซะงั้นอะ
บางสูตรเป็นยาที่สลายตัวได้เมื่อถูกแสงแดด ดังนั้นต้องทายานี้ก่อนนอน แต่ผิวจะไวต่อแสงแดด หรือ แสงไฟจากหลอดยูวี ทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น - Corticosteroids
อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เฉพาะที่ ได้แก่ คัน ติดเชื้อแบคทีเรีย รูขุมขนอักเสบ ฝี สิว ผิวหนังเหี่ยว ผิวหนังไหม้พอง ระคายเคือง ผิวแห้ง ขนขึ้นดก ผิวหนังซีด ผิวหนังรอบปากอักเสบ ผิวหนังอักเสบจากอาการแพ้ ผิวหนังเปื่อย มีการติดเชื้อแทรกซ้อนของร่างกาย ผิวแตกลาย
เนื่องจากยาดูดซึมได้ทางบาดแผลได้ไวมาก
อันนี้เรียกว่า มาไม่แรง .. แต่มาครบความระบม - Azelaic acid
พบอาการไม่พึงประสงค์ได้น้อย และส่วนใหญ่จะพบเมื่อเริ่มใช้ยา ได้แก่ คัน ระคายเคือง แสบร้อนบริเวณผิวหนัง
อันนี้อ่อน ๆ แต่ทำให้ใจคอไม่ดีได้ ยิ่งเป็นโรควิตกกังวล แทบจะโยนทิ้งตั้งแต่ทาคืนแรก - Triple combination
อาจทำให้เกิดอาการ แดง คัน ระคายเคือง ผิวแห้ง ลอก ผิวมีสีเข้มขึ้น หรือ ซีดลง สิวโรซาเซีย (Rosacea) - Tranexamic acid
อาจทำให้เกิด อาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ การมองเห็นผิดปกติ เช่น มองเห็นไม่ชัด มองเห็นสีผิดปกติ ชัก เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดในบริเวณต่างๆของร่างกาย ซึ่งหากอุดตันบริเวณอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง ปอด ไต อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
สรุป ยารักษาฝ้ามันไม่ดีใช่ไหม ?
ไม่ใช่ครับ ถ้าคุณใช้ยาข้างต้นภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง (ไม่ใช่หมอศัลยแพทย์มาเปิดคลีนิคนอกอะไรพวกนี้นะ)เพราะแพทย์จะเป็นผู้เลือกประเภทของยา ความเข้มข้น ระยะเวลาการใช้ และ ดูแลอย่างใกล้ชิด (คุณเองก็ต้องไปพบแพทย์ตามนัดด้วย) และ แพทย์จะสามารถเล่นแร่ แปรธาตุกระบวนการรักษา เพื่อไม่ให้ผลข้างเคียงจากยา ย้อนกลับมาทำร้ายคุณได้
แต่นั่นก็ต้องแลกมาด้วยกับต้นทุน คือ เวลาที่ต้องเดินทาง , ข้อห้ามจุกจิก , ค่ายาที่สูง (เพราะรวมค่าบริการทางการแพทย์) และ อย่าลืมว่า "ยังไม่มีวิธีใดทำให้ฝ้าหายขาดนะจ๊ะ"
ตอนต่อไป เราจะมาคุยกันว่า ฝ้าไม่หายขาด .. แล้วจะทำอย่างไร ?
ข้อมูลเรียบเรียงจาก :
เภสัชกรพรลภัส บุญสอน
S-ERUM ผลิตภัณฑ์เซรัมคุณภาพสูงจำหน่ายมานานกว่า 20 ปี
S-ERUM CAE เซรัมอาหารผิว คือ เวชสำอางค์สูตรเอกสิทธิ์จากสหรัฐอเมริกา ที่ใช้สารทดแทนไฮโดรควิโนนหลากหลายชนิด ร่วมกับ สารสำคัญจากรากดอกไม้ซิโฟเนียสายพันธุ์เยอรมัน (กลุ่มพืชพุ่มเตี้ย) และ น้ำมันกีวีสกัดเข้มข้น (เพื่อใช้ละลายอนุพันธ์ของสารสำคัญ)
โดยพุ่งเป้าไปที่การใช้สารสกัดธรรมชาติจำนวนมากที่เข้มข้นในระดับพอดีในรูปเซรัมแบบครีม เพื่อลดกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว อย่างปลอดภัย
เมื่อใช้ CAE ครีมรากไม้อย่างถูกต้อง ในปริมาณที่เหมาะสม และ ต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ จะพบความแตกต่างของสีผิวระหว่าง "ก่อนใช้ " และ "หลังใช้" ได้ชัดเจนครับ
ทำความรู้จักผลิตภัณฑ์นี้เพิ่มเติม
https://www.serumchiangmai.com/s-erum-super-whitening-performance-cae.php
แฟนเพจทางการ (Official)
facebook.com/serumchiangmai
Line id : serumchaingmai (สำหรับโทรไลน์เพื่อปรึกษาผิวพรรณ)
Line id : @naitam (สั่งซื้อและรับโปรโมชัน)
โทร. 02-1073396 และ 052-081830